fbpx

บทความน่าอ่าน

การดูแลผู้ป่วยติดเตียง

 

 

ผู้ป่วยติดเตียง หมายถึง ผู้ป่วยที่สุขภาพร่างกายอยู่ในภาวะเสื่อมโทรมจนต้องนอนอยู่บนเตียงอย่างเดียวตลอดเวลา ซึ่งอาจจะพอที่จะขยับตัวได้บ้าง แต่ไม่สามารถที่จะช่วยเหลือตนเองในเรื่องอื่นๆ ได้ โดยเกิดจากสาเหตุมากมาย ไม่ว่าจะเป็นความเจ็บป่วยจากการเป็นโรคประจำตัว ประสบอุบัติเหตุ การผ่าตัดใหญ่ โดยผู้ป่วยที่มีอาการนอนติดเตียงอาจจะมีทั้งผู้ป่วยที่ยังรู้สึกตัวหรือไม่รู้สึกตัวนอกจากนี้แล้วการนอนติดเตียงยังเป็นภาวะที่อาจจะก่อให้เกิดผลข้างเคียงตามมามากมาย ซึ่งอาจจะเป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ เช่น การเกิดแผลกดทับ เกิดการขาดอาหารอย่างรุนแรง เกิดการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจและระบบทางเดินปัสสาวะ

และสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการนอนติดเตียงที่ต้องมาดูแลกันเองที่บ้าน ผู้ที่มีหน้าที่ดูแลป่วยจึงมีความสำคัญที่จะต้องคอยเอาใจใส่ดูแลผู้ป่วย เนื่องจากผู้ป่วยไม่สามารถที่จะช่วยเหลือตนเองได้ การดูแลฟื้นฟูสมรรถภาพให้กับผู้ป่วยนอนติดเตียงจึงมีวิธีที่ผู้ดูแลควรรู้ เพื่อที่จะช่วยเหลือผู้ป่วยให้ได้ฟื้นฟูตัวเองพอที่จะช่วยเหลือตัวเองได้มากขึ้น และยังเป็นการช่วยป้องกันผู้ป่วยจากการโรคแทรกซ้อนตามมาอีกด้วย ซึ่งผู้ดูแลแลพึงเอาใจใส่ผู้ป่วยในเรื่องต่อไปนี้

  1. การนอน  ผู้ป่วยที่นอนติดเตียงจะไม่สามารถพลิกตัวเองได้ และหากต้องนอนอยู่ในท่าเดิมเป็นเวลานานๆ ก็อาจทำให้เกิดแผลกดทับ โอกาสที่จะติดเชื้อก็มีมากขึ้น ดังนั้น ผู้ดูแลควรพลิกตัวผู้ป่วยทุกๆ 2 ชั่วโมง เปลี่ยนท่าในการนอน เช่น นอนหงาย นอนตะแคง
  2. การรับประทานอาหาร  หากผู้ป่วยทานอาหารในท่านอน อาจจะทำให้สำลัก หรือ ปอดเกิดการอักเสบ หรือติดเชื้อ เพราะเศษอาหารหลุดเข้าหลอดลม ดังนั้นผู้ดูแลควรจัดให้ผู้ป่วยนั่งตรงก่อนจะรับประทานอาหาร และควรให้ผู้ป่วยนั่งในท่าเดิมเพื่อให้อาหารย่อยก่อนสัก 1-2 ชั่วโมง เเล้วจึงนอนลง
  3. การขับถ่าย  การใส่สายสวนปัสสาวะเข้าไปภายในร่างกายของผู้ป่วย เป็นการเพิ่มโอกาสในการติดเชื้อได้ง่าย ผู้ดูแลควรเปลี่ยนสายสวนปัสสาวะให้ผู้ป่วยเป็นประจำทุก 2 – 4 สัปดาห์ และทำความสะอาดสายด้วยน้ำสบู่อ่อนๆ ทุกครั้ง
  4. ปากและฟัน  ควรแปรงฟันด้วยแปรงสีฟันขนอ่อน และบ้วนปากด้วยน้ำเกลือ หากผู้ป่วยไม่สามารถทำได้ด้วยตนเอง ผู้ดูแลสามารถใช้    ผ้าก๊อซพันด้ามตะเกียบชุบน้ำอุ่น ทำความสะอาดภายในช่องปาก
  5. ห้องนอน ห้องนอนควรจัดให้เหมาะกับการใช้งาน อยู่ชั้นล่างของบ้าน มีการระบายอากาศที่ดี ปราศจากเชื้อโรคและฝุ่นละออง มีพื้นที่มากพอในการวางเตียงผู้ป่วย เครื่องมือ และอุปกรณ์ทางแพทย์ นอกจากนี้ยังสะดวกในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินอีกด้วย
  6. สุขภาพจิต  ผู้ป่วยแต่ละรายมีภาวะของโรคแตกต่างกัน แต่สิ่งที่คล้ายกันคือ ความเบื่อหน่าย และความทุกข์ที่เกิดขึ้น ซึ่งผู้ดูแลสามารถหากิจกรรมต่างๆ มาทำร่วมกันผู้ป่วย เพื่อผ่อนคลาย และลดความเศร้าลง มีสุขภาพจิตที่ดี

เนื่องจากการดูแลผู้ป่วยติดเตียง เรียกได้ว่าเป็นภาระหน้าที่ที่ค่อนข้างหนัก ซึ่งผู้ดูแลอาจจะรู้สึกเหนื่อย และเครียด แต่หากอยู่ในสถานที่ที่มีอากาศโปร่งโล่งสบายจะช่วยให้สุขภาพกาย และสุขภาพจิต ของทั้งผู้ป่วยติดเตียง และผู้ดูแล มีสุขภาพกายใจที่ดีขึ้นพร้อมต่อสู้กับโรคที่เกิดขึ้นได้อย่างดีเยี่ยม

จากบทความข้างต้น จะเห็นได้ว่าการดูแลผู้ป่วยติดเตียง สถานที่สำคัญที่สุดคือ บ้าน เพราะเป็นที่ที่ผู้ป่วยติดเตียงและผู้ที่ดูแลต้องพักอาศัยตลอดเวลา เพราะฉะนั้นบ้านที่อยู่อาศัยต้องมีการระบายอากาศที่ดี ไม่เป็นที่ที่ก่อให้เกิดโรคแทรกซ้อนต่อผู้ป่วย และมีอากาศที่ปลอดโปร่งโล่งสบาย ซึ่งปัจจุบันมีโครงการบ้านปลอดฝุ่น ซึ่งสามารถป้องกันผู้อยู่อาศัยจากฝุ่นละอองและเชื้อโรคได้แล้ว ยังสามารถทำให้ภายในบ้านเรือนและอาคารมีออกซิเจนเพิ่มขึ้นด้วย จึงทำให้มีอากาศปลอดโปร่งโล่งสบาย ช่วยให้มีสุขภาพดี มีกำลังแรงใจที่จะต่อสู่กับโรคภัยต่อไปได้

ด้วยความปรารถนาดีจาก #G-Life    #เครื่องฟอกอากาศสำหรับเพิ่มออกซิเจน https://www.glifecleanrooms.com/

ด้วยความปรารถนาดีจาก #FreshO   #ระบบฟอกอากาศสำหรับโรคภูมิแพ้ http://fresho2pureair.com/

ด้วยความปรารถนาดีจาก #Dust Free Houses  #บ้านปลอดฝุ่น ที่มีอากาศปลอดโปร่งโล่งสบาย http://www.dustfreehouses.com/

 

แหล่งข้อมูล : http://www.phartrillion.com/ดูแลผู้ป่วยติดเตียง/: https://www.honestdocs.co/how-to-cure-rehabilitate-patients-with-extra-beds

 

Add LINE G-Life เพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้เลย เพิ่มเพื่อน